ทิศทางการจัดการศึกษาโรงเรียนผดุงกิจวิทยา

ทิศทางการจัดการศึกษาโรงเรียนผดุงกิจวิทยา

โรงเรียนผดุงกิจวิทยาได้ดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์สถานศึกษา (Strategic Plan ) ทุกๆ ระยะ 3 ปี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนบริหารสถานศึกษา ตามหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School Based Management : SBM ) และ หลักการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของโรงเรียน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้กำหนดจัดทำเป็นขั้นตอนตามลำดับดังนี้

ขั้นเตรียมการ
      1. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์และประมาณการรายจ่ายเพื่อการบริหารจัดการ
      2. สร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการจัดทำแผนกลยุทธ์และประมาณการรายจ่ายตามแผน
      3. จัดทำเอกสารข้อมูลประกอบการชี้แจงทำความเข้าใจในงานที่จะต้องดำเนินงานร่วมกัน

ขั้นดำเนินการ
      1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน ( SWOT Analysis )
            - สภาพแวดล้อมภายนอก ( External Environment ) ได้แก่ ปัจจัยต่างๆภายนอกระบบโรงเรียน ที่ส่งผลกระทบต่อโรงเรียนทั้งด้านที่เป็นโอกาส ( Opportunities ) และอุปสรรค ( Threats )
            - สภาพแวดล้อมภายใน ( Internal Environment )ได้แก่ ปัจจัยต่างๆภายในระบบโรงเรียนที่เป็น จุดแข็ง ( Strengths ) และจุดอ่อน ( Weaknesses )

2. ประเมินสถานภาพของโรงเรียน
      ผลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียน
            2.1 โอกาส ( Opportunities )
                  2.1.1 โรงเรียนตั้งอยู่ริมถนนใหญ่ การคมนาคมสะดวก เชื่อมต่อกับถนนหลักได้หลายเส้นทาง
                  2.1.2 โรงเรียนอยู่ใกล้ตลาด และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
                  2.1.3 มีศาลเจ้าปึงเถ่ากงซึ่งเป็นศูนย์ร่วมใจของชุมชนและผู้ที่เชื่อถือศรัทธาทั่วไป ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับโรงเรียน ทำให้ผู้มากราบไหว้ได้รู้จักโรงเรียน
                  2.1.4 มีห้องประชุมขนาดใหญ่ของสมาคมมิตรภาพบางแค อยู่ในอาคารเดียวกับโรงเรียน ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเช่าจัดงานเลี้ยงต่าง ๆ ทำให้มีบุคคลที่หลากหลาย รู้จักกับโรงเรียน
                  2.1.5 อยู่ในเขตเส้นทางผ่านโครงการรถไฟฟ้า
            2.2 อุปสรรค ( Threats )
                  2.2.1 มีโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาจีน เกิดขึ้นมากมาย ทั้งในระบบและนอกระบบ ให้โรงเรียนผดุงกิจวิทยาได้รับผลกระทบ
                  2.2.2 ถนนสายหลัก (เพชรเกษม) กำลังก่อสร้างทางรถไฟฟ้า ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง
      ผลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียน
            2.3 จุดแข็ง ( Strengths )
                  2.3.1 โรงเรียนก่อตั้งมานาน มีศิษย์เก่าที่จบไปแล้วประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพมากมายโดยเฉพาะในวงธุรกิจ และเข้ามาให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
                  2.3.2 โรงเรียนจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเป็นวิชาหลักและเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน ทำให้สอดคล้องกับทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
                  2.3.3 โรงเรียนจัดการเรียนการสอนภาษาจีน โดยใช้ครูเจ้าของภาษา
                  2.3.4 แม้ว่าโรงเรียนจะจัดการเรียนการสอนโดยเน้นภาษาจีนเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน แต่นักเรียนได้เรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เต็มตามหลักสูตร
                  2.3.5 มีระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
                  2.3.6 มีบุคลากรเพียงพอ
                  2.3.7 มีสมาคมมิตรภาพบางแคให้การสนับสนุนอาคารเรียน โดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่ารายเดือน/ปี
            2.4 จุดอ่อน ( Weaknesses )
                  2.4.1 มีห้องเรียนและห้องประกอบการที่จำกัดไม่สะดวกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
                  2.4.2 บางชั้นเรียนมีเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เรียนร่วมด้วย ทำให้ยากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                  2.4.3 มีสถานที่จัดกิจกรรมกลางคับแคบไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
                  2.4.4 ห้องประชุมสมาคมมิตรภาพบางแค ซึ่งอยู่ในอาคารเรียน เป็นห้องประชุมเปิดให้เช่าสำหรับบุคคลทั่วไป ทำให้บางเวลามีบุคคลภายนอกเข้าไปในสถานศึกษา

3. การจัดวางทิศทางของโรงเรียน
      โรงเรียนได้กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ เป้าประสงค์ โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การประเมินสถานภาพของโรงเรียน รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี (SAR) และผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ร่วมทั้งนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาของชาติ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับรู้ทิศทางอนาคตของโรงเรียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

4. การกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน
      วิเคราะห์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ เป้าหมาย เพื่อสร้างเป็นกรอบกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้บรรลุตามที่กำหนดไว้ โดย กรอบกลยุทธ์ของโรงเรียนประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
      1. กลยุทธ์ระดับองค์กร คือส่วนที่จะกำหนดขอบเขตหรือทิศทางหลักของโรงเรียน
      2. กลยุทธ์ระดับแผนงาน คือส่วนที่จะกำหนดเป็นทิศทางย่อยโดยมีงาน/โครงการ/กิจกรรมสนับสนุนให้บรรลุตามแผนงานนั้นๆ
      3. ตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ ผลลัพธ์ ( Outcomes ) ซึ่งเป็นผลสำเร็จปลายทางอันเกิดจากการดำเนิน การตามกลยุทธ์แผนงาน
      4. งาน/โครงการ/กิจกรรม คือ แนวปฏิบัติให้บรรลุตามกลยุทธ์ระดับองค์กรและแผนงาน

วิสัยทัศน์ (Vision)

โรงเรียนผดุงกิจวิทยา มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้ มีคุณธรรม นำเด่นด้านภาษาจีน
วิชาการรอบรู้ สู่ความเป็นสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

พันธกิจ (Mission)

1. พัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรักในสถาบัน ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สามารถดำรงตน อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2. พัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตาม ศักยภาพและความสนใจของผู้เรียน
3. พัฒนาและส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้และประสบการณ์สามารถจัดการเรียนการโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. จัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ทั้งด้านเทคโนโลยี ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้อื่น
6. จัดระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยให้องค์กร ชุมชน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า เข้ามามีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษาและการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
7. จัดหาทรัพยากรเพื่อใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษาและการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
8. พัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนโดยเจ้าของภาษา เน้นการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
9. พัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

เป้าหมาย (Goal)

1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2. ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. บุคลากรครูมีความรู้และประสบการณ์สามารถจัดการเรียนการโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. มีระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกฎกระทรวงฯ
5. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ทั้งที่เป็นสื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม
6. องค์กร ชุมชน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และผู้เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
7. มีทรัพยากรที่ใช้ในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
8. ผู้เรียนสามารถนำภาษาจีนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามระดับชั้นที่เรียน และใช้ภาษาจีนเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพและศึกษาต่อได้
9. สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง